วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

เทศกาลสำคัญประจำปีของญี่ปุ่น(อันนี้ปรกตินะครับ)

1. เทศกาลปีใหม่ : ชาวญี่ปุ่นเฉลิมฉลองการผ่านไปของหนึ่งปีและการมาถึงของปีต่อไปด้วยศรัทธาแรงกล้า ระยะเวลาแห่งการเฉลิมฉลองเรียกว่า"โชงัท สึ" หมาย ถึง เดือนแรกของปี ประชาชนจะประดับประดาทางเข้าบ้านด้วยกิ่งสนและพู่ระย้าที่ทำจากฟาง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ป้องกันมิให้สิ่งมัวหมองเข้ามาแผ้วพาน ของตกแต่งในวันปีใหม่ของชาวญี่ปุ่นเริ่มที่ “คาโดมัทสึ” ซึ่งชื่ออาจฟังดูเข้าใจยากสักหน่อย แต่เจ้าสิ่งนี้นั้นถูกนำมาเพื่อใช้ต้อนรับวิญญาณบรรพบุรุษและเทพเจ้าแห่งปี เพื่อเป็นการขอพรให้มีอายุยืนยาว มีความเจริญรุ่งเรือง และให้มีความมั่นคงในชีวิต โดยเจ้าสิ่งนี้จะวางไว้ที่หน้าประตูบ้าน อาจจะข้างเดียวหรือ 2ข้าง ของประตูก็ได้ (ความเชื่อแฝงเกี่ยวกับฮวงจุ้ย) คาโดมัทสึนั้นประกอบด้วยกิ่งสนใหญ่ ไม้ไผ่และช่อดอกบ๊วย ซึ่งช่อดอกบ๊วยถือเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าแห่งปี ซึ่งขอย้อนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคะโดะมัทซึอีกสักเล็กน้อย ค่อนข้างแฝงความเชื่อที่ว่าประตูจะมีมุมประตู เป็นเหลี่ยมๆ การใช้ดอกไม้ไปประดับตรงแต่ละมุมทั้งสองมุมนั้น จะเป็นการลบมุม ลบเหลี่ยมประตูตรงนั้นด้วย ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นทำให้ความหมายดี ก็ทำนองคล้ายๆแนวฮวงจุ้ย    
ส่วนของตกแต่งอย่างอื่นที่ทำแบบง่ายๆก็มีอย่างเช่น ชิเมคาซาริ ของใช้ประดับวันปีใหม่เช่นกัน ประกอบด้วย เชือกศักดิ์สิทธิ์ ที่ทำด้วยฟางข้าว มีแถบกระดาษสีขาวห้อยเป็นพู่ ประดับพร้อมกับ กุ้งมังกร ส้ม และใบเฟิร์น ชาวยุ่นจะแขวนไว้ที่หน้าบ้านด้วยความเชื่อว่า จะช่วยขจัดสิ่งชั่วร้ายออกไปจากบ้านเนื่องในโอกาสวันปีใหม่ โดยความหมายที่น่าสนใจอย่างกุ้งมังกรจะหมายถึงอายุยืนยาวส่วนส้มถือว่าหมายถึงเป็นสิ่งแสดงสุขภาพที่แข็งแรงของสมาชิกในครอบครัวโดยเชื่อว่าบ้านเมื่อแขวนชิเมคาซาริแล้วเชื่อว่าบ้านบริสุทธิ์สิ่งชั่วร้ายเข้าไม่ได้นั่นเอง
ความเชื่อของชาวญี่ปุ่นในช่วงหลังเทศกาลปีใหม่ ทันที ที่วัดตีระฆังส่งท้ายปีเก่า หรือสัปดาห์แรกของปีใหม่ คนญี่ปุ่นจะไปวัดชินโตหรือวัดพุทธเป็นครั้งแรก โดยผู้คนจะโอนเงินลงในกล่อง และขอพร ให้มีสุขภาพแข็งแรง หลังจากไหว้พระแล้วก็จะมีการซื้อโอมาโมริ เครื่องรางนำโชคหรือลูกศรศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีขนนกสีขาวประดับอยู่ มีการเสี่ยงเซียมซี ใบเซียมซีเขียนด้วยตัวคันจิ ว่าจะดีหรือร้าย ถ้าไม่ค่อยดี ก็จะผูกไว้กับกิ่งไม้ในวัดเพื่อให้ดวงชะตาดีขึ้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้ดูไปดูมาก็คลับคล้ายคลับครากับของบ้านเรา ที่ปีใหม่จะมีการทำบุญตักบาตร ไปไหว้พระ ฟังเทศน์กันที่วัด ตามแต่ละความเชื่อและศรัทธาของแต่ละคนกันไป ยิ่งกว่านั้นยังมีความเชื่อที่น่าสนใจ ในช่วงหลังปีใหม่ไม่นาน ที่น่าสนใจอย่าง ประเพณีทานข้าวต้มใส่สมุนไพร ชนิด ของฤดูใบไม้ผลิ ในวันที่ ของปีใหม่ ด้วยเหตุผล ตามที่ทราบ ๆ จากคนญี่ปุ่นนั้น ว่ากันมาว่า เชื่อกันว่าจะช่วยป้องกันโรคหวัด และโรคอื่น ๆ ไม่ให้มากล้ำกราย ประเพณีนี้มีเริ่มแรกในสมัยเฮอัน และพวก สมุนไพร อย่างในฤดูใบไม้ผลิของเขา นั่นก็ได้แก่ ซูซูชิโระ ซูซูนะ เซริ นาซูนะโกะเงียว  โฮโตเคโนะซะ ฮาโกเบระหลายคนอาจสงสัยว่าแล้วทำไมต้องวันที่ หลังปีใหม่ด้วยล่ะ ส่วนทำไมต้องวันที่ หลังปีใหม่ คาดว่าโน้มเอียงความเชื่อว่า เลขเป็นเลขมงคลของชาวญี่ปุ่นนั่นเอง ด้านเลขซึ่งเป็นเลขมงคลของเขานั้นแฝงความเชื่อมาจากการเล่นปาจิงโก็ะของชาวญี่ปุ่น ด้วยครับ เพื่อนชาวญี่ปุ่น บอกว่า หากเล่นปาจิงโก๊ะแล้วได้สุ่มออกมาเป็นเลข 777 ก็ถือว่าเป็นเลขนำโชค โชคดีอย่างมาก ได้เงินใช้ทำนองนี่ล่ะ (การจะสุ่มออกมาเป็นเลข ทั้งสามตัวนั้นเป็นสิ่งที่มีความน่าจะเป็นน้อยมาก ถือว่าต้องเฮงจริงๆจึงจะได้)


 2. เทศกาลเซ็ตสึบุน ซ็ตสึบุน หมายถึงวันที่ หรือ กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิตามประเพณี มีการซัดถั่วแดงอะซุกิ(あすきซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีเพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคลออกจากบ้านซึ่งมีการจัดพิธีนี้ตามวัดและศาลเจ้าด้วย ประวัติคราวๆ คือเริ่มมีมาตั้งแต่สมัย มุโรมาจิจิได(ประมาณคริสศตวรรษที่ 17) และก็กระทำติดต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อถึงวันนี้ในแต่ละบ้านจะให้พวกผู้ชาย คือ พ่อและก็ลูกชาย ใส่หน้ากากผี ปีศาจ ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของความชั่วร้าย(ที่เราเห็นเป็นหน้ากากสีแดงๆ แต่ไม่ใช่หน้ากากเทนงูจมูกยาวๆนะแล้วก็เอาถั่วหว่านเข้าไป แล้วก็พูดว่า “โอนิวะโซโตะ” 鬼は外 ( おに はそと)แปลว่าสิ่งอัปมงคลทั้งหลายจงออกไปและจะซัดถั่วจากข้างนอกเข้าไปในบ้านและตะโกนว่าฟุกุสะอุจิ” 福は内    ( ふくはうちแปลว่าความ เป็นสิริมงคลจงเข้ามานอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่า ให้กินถั่วจำนวนเม็ดเท่ากับอายุของตัวเอง จะทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรงไม่เจ็บป่วยไปตลอดปี


 3. เทศกาลวันเด็กผู้ชาย  คือวันที่ พฤษภาคม เทศกาลนี้จัดขี้นสำหรับเด็กผู้ชายเท่านั้น บ้านไหนที่มีลูกชายจะประดับว่าวปลาคาร์ฟยาว 1-2 เมตรให้ปลิวไสวตามจำนวนบุตรชาย ในบ้านมีการจัดพิธีบูชาตุ๊กตานักรบ ซึ่งประกอบด้วยเสื้อเกราะ หมวกเกราะหรือที่เรียกว่า “โกะงัสสึ นิงเงียวเพื่อ อธิษฐานขอให้บุตรชายที่รักมีสุขภาพแข็งแรง ไร้โรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนี้ยังมีการใช้ดอกโชบุและดอกคะชิวะและโมะติ ประดับไว้กับตุ๊กตานักรบที่ชื่อว่า Kabuto และมีการดื่มสาเกฉลองเช่นเดียวกับเทศกาลวันเด็กผู้หญิง



4. เทศกาลตุ๊กตา : หรือ วันเด็กผู้หญิง เป็นเทศกาลของชาวญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่โบราณ จัดขึ้นในวันที่ มีนาคมของทุกปี เป็นเทศกาลที่รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน ตามความเชื่อที่ว่าการปล่อยตุ๊กตาลงน้ำสามารถขจัดเคราะห์ร้ายให้ไปกับตุ๊กตาได้ แต่สหรับประเทศญี่ปุ่นนั้น จะถือว่าเป็นเทศกาลของการอธิษฐานให้ลูกสาวมีความสุข พร้อมกับประสบความสำเร็จในชีวิต เด็กผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่เทศกาลฮินะครั้งแรก จะถูกเรียกว่า "ฮัตสึ เซ็กกุ" (hatzu-zekku) โดยจะเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ผู้อาวุโสเชีนย่าหรือยาย เพราะพวกเธอจะซื้อตุ๊กตามาจัดโชว์ให้กับหลานสาวสิ่งที่มักพบเห็นได้ในช่วงเทศกาลนี้คือการประดับด้วยชุดตุ๊กตาฮินะ หรือในชื่อญี่ปุ่นที่ว่า ฮินะนิงเงียว  雛人形 hinaningyō ตามบ้าน ซึ่งตุ๊กตาดังกล่าวเป็นแบบดั้งเดิมทำด้วยมือ แต่งกายตามราชสำนักญี่ปุ่นโบราณ สมัยยุคเฮอัง วางไว้บนชั้นปกติจะมีทั้งหมด ชั้น รอบๆ ชั้นจะประดับด้วยเครื่องบูชา เช่น ดอกพีช ข้าว เค้ก และเค้กที่ทำจากข้าวรูปร่างคล้ายเพชร ซึ่งเรียกว่าฮิชิโมจิ (hishimochi) รวมไปถึงสาเกขาว และจิราชิซูชิ (chirashi sushi) ตุ๊กตาที่ส่วนใหญ่จะต้องนำมาวางในชั้น คือ ตุ๊กตาเจ้าชายโอไดริซามะ (Odairi-sama) และเจ้าหญิงโอฮินะซามะ (Ohina-sama) ซึ่งตุ๊กตาทั้งสองตัวนี้ จะถูกวางไว้บนสุดของชั้นวาง รายล้อมไปด้วยข้าราชบริพาร และเครื่องตกแต่งชิ้นเล็กๆ โดยฉากหลังของชั้น จะประดับด้วยฉากที่เป็นสีทอง ให้เหมือนกับคฤหาสน์จำลอง



5. เทศกาลแห่งดวงดาวTanabata : ตามตำนานกล่าวว่าดวงดาววีก้า(Orihime) ที่อยู่ทางทิศตะวันออกคือเจ้าหญิงทอผ้าธิดาของเจ้าครองฟ้าและดวงดาวอัลแทร์(Hikohoshi) ที่อยู่ทางทิศตะวันตกคือหนุ่มเลี้ยงวัวด้วยความรักอันดื่มด่ำที่ทั้งสองคนมีให้แก่กันเป็นเหตุให้เจ้าหญิงละวางงานทอผ้าที่เคยใส่ใจเป็นเหตุให้พระบิดาขุ่นเคืองจึงกั้นขวางดาวทั้งสองไว้คนละฝั่งฟ้าด้วยทางช้างเผือกและในคืนวันที่เดือนของทุกปี คือคืนที่ดาวทั้งสองดวงจะโคจรมาใกล้กันมากที่สุดชาวเมืองเซนไดจึงเฉลิมฉลองด้วยการประดับประดาดาวกระดาษดวงใหญ่ให้ปลิวไสวไปทั่วทั้งเมืองมีการนำกระดาษสีหรือ(Tanzaku)มาเขียนคำอธิษฐานทั้งเรื่องความรักและตัดกระดาษเป็นรูปคล้ายๆโซ่แทนสัญลักษณ์ของทางช้างเผือกนำไปแขวนไว้ที่ต้นไผ่และยังมีขบวนพาเหรดใหญ่โตสวยงามเทศกาลนี้จึงมีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากที่สุดอีกเทศกาลหนึ่งโดยเฉพาะจังหวัดมิยากิและจังหวัดคานางาวะเมืองฮิระทสึขะ

 
6. เทศกาลฮานามิ (Hanami Festival)
 : 1-45 เดือนเมษายนของทุกปี เทศกาลชมดอกซากุระบาน ช่วงเวลาแห่งความสุข ประจำฤดูใบไม้ผลิ เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยเฮอัน” แต่ยุคนั้นจำกัดไว้ในหมู่ขุนนางชั้นสูง และชนชั้นผู้ดีโดยเฉพาะ มีการประกวดแต่งกลอนไฮกุ” {กลอนไฮกุมี17 พยางค์ บรรทัดแรก 5 พยางค์ บรรทัดต่อมามี 7 พยางค์ บรรทัดสุดท้าย มี 5 พยางค์ ใช้ภาษาเรียบง่าย สั้นๆได้ใจความ บรรทัดสุดท้าย ทิ้งท้ายให้คิด หรือจบแบบพลิกความคาดหมาย ตัวอย่าง หัวข้อพระราชนิพนธ์โดยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ฝนโปรยลงมาแล้ว ดอกไม้บานรับแสงอาทิตย์ ต้นไม้ผลิใบเขียว} และร้องรำทำเพลงต่อมาจึงเริ่มแพร่หลายไปสู่ชาวบ้าน ทุกวันนี้เมื่อถึงช่วงเวลาที่ซากุระออกดอกทุกคนจะพากันออกมาชมความงาม สะพรั่ง สถานที่ต่างๆที่เป็นจุดชมดอกซากุระบาน จะมีการออกร้าน   ของกันอย่างสนุกสนาน ครอบครัว เพื่อนฝูง จะนัดกันออกมาปิกนิก ปิ้งบาร์บีคิว ดื่มสาเกตามสวนสาธารณะ



7. เทศกาลโอบง(Obon)
จัดทุกวันที่ 13-16 เดือนสิงหาคมของทุกปี ชาวญี่ปุ่นเดินทางกลับบ้านเกิดในช่วงนี้ เพื่อทำความสะอาดหลุมฝังศพและเซ่นไหว้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษ เพราะเชื่อกันว่าดวงวิญญาณคนตายจะกลับลงมาเยี่ยมโลกตามบ้านเรือน จึงมีการจุดตะเกียงหรือคบเพลิงเพื่อส่องนำทางดวงวิญญาณให้กลับบ้านถูก ในเทศกาลมีการร่ายรำพื้นบ้านโบราณบงโอโดริ(Bon Odori)อยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง โดยชาวญี่ปุ่นจะสวมยูกาตะ และต้องสวมถุงเท้าที่เรียกว่า“Zori” และรองเท้าเกี๊ยะ ที่เรียก “Geta”เท่า นั้น ถึงจะถูกต้องประเพณี ในวันที่ 13-15สิงหาคม ก็มีการจัดพิธีกรรมเพื่อบูชาบรรพบุรุษ โดยการจุดไฟต้อนรับที่หน้าประตูบ้าน และถวายผักหน้าแท่นบูชา เอาปักไว้บนตะเกียบ แล้วในตอนเย็นของวันที่ 15 ก็มีการส่งวิญญาณบรรพบุรุษด้วยการจุดไฟที่ เรียกว่า โทโรนางาชิ เป็นโคมกระดาษมีเทียนจุดไฟอยู่ภายใน แล้วนำไปลอยในแม่น้ำ เพื่อนำทางให้วิญญาณบรรพบุรุษลอยออกสู่ทะเล แต่พิธีการลอยโคมไฟของแต่ละท้องถิ่นก็แตกต่างกันไป
นอกจากนี้ในวันที่16 เวลา 20.00น. หรือตอนทุ่ม มีการจุดไฟอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า โอคุริบิ ก็เป็นการนำทางวิญญาณบรรพบุรุษหลังจากมาเยี่ยมลูกหลานเสร็จแล้วนั่นแหละ ไฟที่จุดนี้มีชื่อเฉพาะอีกด้วยไฟที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ ไดมนจิ เป็นไฟรูปตัวอักษรภาษาจีนขนาดใหญ่ อ่านว่า ได(Dai) แปลว่า ใหญ่ ไฟนี้จะเริ่มจุดที่ภูเขาเนียวอิงาตาเคะ(Nyoigatake)ใน เมืองเกียวโต แสงไฟสว่างไสวเชียว ส่วนบนเขาลูกอื่นก็มีตัวอักษรอื่นๆ เทศกาลนี้ถือเป็นช่วงวันหยุดที่ติดต่อกันยาวเทศกาลหนึ่งของชาวญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นย่านสำนักงานในกรุงโตเกียวหรือร้านค้าต่างๆก็จะหยุดงาน เพื่อให้พนักงานเดินทางกลับบ้านเกิดไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษกันตามประเพณี



 9. เทศกาลยามค่ำคืน (Chichibu Night Festival) : เทศกาลที่จัดชึ้นในยามค่ำคืนของวันที่ 2ธันวาคมของทุกปีจัดแสดงที่Saitama มีการแสดงละครคาบูกิซึ่งถือว่าเป็นละครภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวญี่ปุ่นที่สึบทอดยาวนานมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 รูปแบบการแสดงจะใช้นักแสดงชายที่เรียกว่าอันนะงาตะ” ร่ายรำเล่าเรื่องตลกชวนหัวเราะเรื่องเศร้าเคล้าน้ำตาสอดแทรกแง่คิดไปด้วยในวันนี้ละครคาบูกิจะถูกแสดงบนบอลลูนอันหรูหราพร้อมด้วยดนตรีพื้นบ้านChichibu ที่มีชีวิตชีวาและในยามค่ำคืนจะมีการจุดพลุ 18,000 ลูกตื่นตากับรัศมีของพลุที่ใหญ่ที่สุดประมาณ 310 เมตรสว่างไสวไปทั้งเมือง



 8. เทศกาลกิออน (Gion Matsuri) : จัดที่Kyoto ในวันที่ 1-15 กรกฎาคมของทุกปี งานเทศกาลของศาลเจ้า Yasaka เป็นหนึ่งใน 3 เทศกาลที่ยิ่งใหญ่ของเกียวโต และยังเป็น 1 ในเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่19 จุดประสงค์ดั้งเดิมของเทศกาลนี้ก็คือ การขับไล่ปิศาจที่เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคภัย ขบวนพาเหรดบอลลูนหรูหราตระการตา 12 ลูก ถูกแห่รอบเมืองเกียวโต ในงานมีการโชว์ Kasahoko ลักษณะคล้ายลูกโป่งขนาดใหญ่ หลากหลายรูปร่าง บางลูกมีความสูงถึง 6 เมตร นี่คือเทศกาลที่ชาวเมืองเกียวโตให้ความสำคัญและโด่งดังไปทั่วโลก



10. เทศกาลหิมะ Snow Festival : จัดที่ Sapporo ทุกเดือนกุมภาพันธ์ อากาศที่หนาวเย็น ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมุ่งหน้าสู่เมืองซับโปโร บนเกาะฮอกไกโด เพื่อร่วมสนุกสนานกับเทศกาลหิมะ ซึ่งเริ่มจัดตั้งแต่ปี 1950 ซึ่งจัดขึ้นที่ Odori Park ประกอบด้วยจุดเยี่ยมชม 3 จุด ได้แก่ Odori site, Sato-Land site และ Susukino site โดยไฮไลต์เด็ดของทุกปี อยู่ที่รูปสลักน้ำแข็งสถาปัตยกรรมสำคัญต่างๆ และในงาน Sapporo Snow Festival 58 ปีล่าสุด มีจุดเด่นที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทของไทย สลักจากหิมะสามพันลูกบาศก์เมตร ระดมทหารญี่ปุ่นราว3,000 คน มาช่วยกันแกะสลัก ใช้เวลา 1 เดือน เพื่อเป็นการให้เกียรติประเทศไทยในโอกาสฉลอง 120 ปี ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปชมกว่า 2 ล้านคน


DontakuFestival
Tenjin Matsuri Festival





เทศกาลแปลกๆที่ญี่ปุ่นแปลกไม่แปลกไปดู


Kanamara Festival 
เทศกาลแห่ง องคชาติ ของคนญี่ปุ่น เทศกาลแห่ องคชาติ กาเจียวยักษ์ งานนี้ที่ประเทศญี่ปุ่นเค้าเรียกว่า "งานเทศกาลแห่ลึงค์" (penis festival) หรืองานแห่อวัยวะเพศชายนั่นเอง ฟังดูชื่ออาจจะแอบอมยิ้มกันทั้งออฟฟิศ แต่เทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่มีมาเนิ่นนานแล้ว ที่มีชื่อเสียงก็มีอยู่ 2 งาน ได้แก่ Chiwawa Matsuri และ Kanamara Matsuri ซึ่งจุดประสงค์แตกต่างกันพอสมควร งานแรกคืองาน Chiwawa Matsuri งานนี้จัดที่เมืองโคมากิ ห่างออกไปจากเมืองนาโกย่าประมาณ 45 นาที เขาจัดกันทุกวันที่ 15 มีนาคมของทุกปี เป็นงานประเพณีของศาสนาชินโตที่มีมายาวนานกว่า 1,500 ปีแล้ว เพื่อที่จะสร้างขวัญกำลังใจในการเริ่มทำการเกษตรกรรมให้ได้ผลผลิตดี ๆ และอวยพรให้ชาวเมืองเขามีบุตรกันเยอะ ๆ โดยงานนี้จะมีการแห่ลึงค์ไม้ขนาดยักษ์ร่วม 10 ฟุต ไปที่ศาลเจ้า Tagata Jinja ส่วนอีกงานหนึ่งคืองาน Kanamara Matsuri งานนี้จัดที่เมืองคาวาซากิ ประมาณวันอาทิตย์แรกในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นงานของชินโตเพื่อความอุดมสมบูรณ์เช่นกัน แต่นอกเหนือจากนั้นที่น่าสนใจก็คือ ครั้งหนึ่งงานนี้หญิงงามเมืองจัดขึ้นมาเพื่อการสวดมนต์อธิษฐานพระเจ้าไม่ให้ ตนเองติดโรคร้าย เช่น โรคซิฟิลิสจากการประกอบอาชีพนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่สามารถระดมทุนเพื่อการวิจัยเกี่ยวกับ เชื้อ HIV ได้มากมายทีเดียว สำหรับ Kanamara Matsuri จะใช้ลึงค์ยักษ์ที่ทำมาจากเหล็กในการทำพิธี เพราะมีตำนานเก่าแก่ที่เขาเล่ากันมาว่า นานมาแล้วมีปีศาจฟันแหลมที่เข้าไปซ่อนตัวในอวัยวะเพศของหญิงสาวและกัดลึงค์ ของว่าที่สามีของเธอถึงสองคนสองครั้งในคืนวันแต่งงาน เธอจึงไปขอความช่วยเหลือช่างตีเหล็ก ช่างตีเหล็กเลยทำลึงค์จากเหล็กขึ้นมา พอปีศาจเข้าไปกัด ฟันจึงหัก หญิงสาวจึงไม่ต้องอับโชคเรื่องคนรักอีกต่อไป แล้วเธอก็นำลึงค์เหล็กมาวางไว้บนแท่นบูชาเพื่อบูชาตั้งแต่นั้นมา สำหรับนักท่องเที่ยวหากมีโอกาสไปที่งานนี้ อย่าลืมไปซื้อพวกขนมข้าวต้มหรือของที่ระลึก รับรองว่าท่านจะได้ของที่ทั้งเป็นที่ระลึกและที่ระทึกแน่นอน เพราะข้าวของในงานนี้ล้วนแล้วแต่เป็นรูปทรงแบบลึงค์ทั้งนั้น ตั้งแต่ของตกแต่งจุกจิกยันขนมเค้กกันเลยทีเดียว หากอยากเห็นงานนี้ล่ะก็ ลองเปิดเข้าไปที่ยูทูบ แล้วพิมพ์ชื่องานเทศกาลลงไป เราจะได้เห็นเทศกาลตัวเป็น ๆ อย่างแน่นอน แต่น่าเสียดาย บางคลิปที่ถูกโพสต์ลงในยูทูบกลายเป็นคลิปที่เปิดไม่ได้เนื่องจากทางเว็บไซต์ เขาพิจารณาว่ามีเนื้อหาคลิปที่ไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตามก็มีหลายคลิปที่พอจะเปิดดูได้ ก็ลองดู(เนื่องจากคลิปมีเนื้อหาไม่เหมาะสมสำหรับเด็กจึงไม่นำมาลงนะครับ!!)


Hadaka_Matsuri

.... เทศกาลเปลือยกาย!!!  ต้นตำหรับขนานแท้ ญี่ปุ่นเจ้าเก่า ไม่แน่ไม่เปลือย ....


ญี่ปุ่นมีประเพณีแปลกๆอยู่ไม่น้อย หนึ่งในนั้น คือ เทศกาลเปลือยกาย หรือที่ภาษาญี่ปุ่นเรียกกันว่า Hadaka Matsuri  แนวคิดที่มาของประเพณีนี้ ต้องการที่จะขัดเกลาจิตวิญญาณของผู้เข้าร่วมให้บริสุทธิ์ ในเทศกาลดังกล่าวนี้ ผู้ชายจะนุ่งสิ่งที่คล้ายผ้าเตี่ยว ซึ่งเรียกกันว่า Fundoshi และหนึ่งในนั้น จะเปลือยกายล่อนจ้อนจริงๆโดยทั่วไป จะมีผู้เข้าร่วมในเทศกาลดังกล่าวนับพันคน  
เทศกาลดังกล่าว จัดให้มีขึ้นทุกปี ในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศญี่ปุ่นนับสิบๆแห่ง เวลาในการจัด จะมีสองช่วง หากไม่เป็นช่วงหน้าร่อนก็เป็นหน้าหนาวของญี่ปุ่น ภาพต่อไปนี้ เป็นเทศกาลเปลือยกาย ในเมืองโอกายามา ซึ่งกล่าวกันว่า เป็นจุดเริ่มต้นของประเพณีนี้ ที่เมืองนี้ งานจะจัดขึ้น ทุกวันเสาร์ที่สามของเดือนกุมภาพันธ์อันหนาวเหน็บ คนนับพัน จะมาออกันตั้งแต่หัวค่ำ เพื่อรอแย่งรับไม้ศักดิ์สิทธิ์คู่หนึ่ง ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร และยาว 20 เซนติเมตร ในตอนเที่ยงคืน จะมีการปิดไฟแสงสว่างลง ก่อนที่พระจะโยนไม้คู่ดังกล่าว ลงมาจากหน้าต่างซึ่งอยู่สูงขึ้นไป 4 เมตร ไม้ศักดิ์สิทธิดังกล่าวนี้ เรียกกันในภาษาญี่ปุ่นว่า shingi ใครที่แย่งได้ไป จะถือว่าเป็นผู้โชคดีในปีนั้นนอกจากนี้ ยังมีกิ่งต้นหลิวศักดิ์สิทธิ์อีกหนึ่งร้อยกิ่ง สำหรับปลอบใจผู้ที่ผิดหวัง ซึ่งก็ไม่เพียงพอ สำหรับผู้เข้าร่วมงานเกือบหมื่นคนอยู่ดี



Zen in the Martial Arts



Zen in the Martial Arts
สติที่เป็นสติสัมโพชฌงค์ ก็คือสติที่มีเองทุกขณะ โดยไม่ต้องออกแรงตั้งใจให้มีสติ และมีอยู่เองโดยไม่มีความต้องการที่จะให้มีสติ เพราะเห็นว่าสตินั้นมีประโยชน์
- วันทิพย์
การบรรลุธรรม หมายความอย่างง่ายๆ ถึงการตระหนักในความกลมกลืนกัน อันไม่อาจแบ่งแยกออกได้ในชีวิตประจำวัน ความรู้อันแท้จริงแล้วต้องผ่านประสบการณ์ตรง เราจะอธิบายรสน้ำตาลได้อย่างไร การบรรยายด้วยวาจาไม่อาจให้ความรู้สึกได้ การจะรู้รส ต้องมีประสบการณ์กับมัน ปรัชญาของศิลปแขนงนี้ ไม่ใช่ว่าจะครุ่นคิดออกมาได้เอง จะต้องมีประสบการณ์ ดังนั้น จึงช่วยไม่ได้ที่ถ้อยคำเป็นเพียงการนำความหมายไปได้บางส่วนเท่านั้น
- Joe Hyams
รู้จักคนอื่นเป็นความฉลาด รู้จักตนเองเป็นการตรัสรู้
- เล่าจื๊อ
เมื่อคุณแสวงหา คุณไม่อาจพบมัน
- บททายของเซน
คุณต้องเรียนรู้วิธีดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่อดีตหรืออนาคต เซนสอนว่า ชีวิตต้องยึดขณะปัจจุบัน โดยการอยู่กับปัจจุบัน คุณต้องสัมพันธ์กับตนเอง และสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่ ต้องไม่ทำให้พลังของคุณกระจายไป ต้องพร้อมเสมอในปัจจุบัน ไม่มีความเสียใจต่ออดีต โดยการคิดถึงแต่อนาคต ก็ทำให้ปัจจุบันเบาบางลง เวลาที่จะดำรงอยู่คือ "เดี๋ยวนี้"
- อาจารย์หาน
ล่องลอยไปตามกระแส ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จงปล่อยให้จิตใจเป็นอิสระอยู่ ด้วยความเป็นกลาง ด้วยการรับรู้สิ่งที่กระทำอยู่นั้น นี่เป็นสิ่งสูงสุด
- จวงจือ
จิตใจไม่ควรอยู่ที่ใดเป็นการเฉพาะ
- ต้ากวน
เวลาทำอะไร ทำให้ดี ขอให้ทำให้ไม่มีที่ติ ทำให้สุดความสามารถของคุณ แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญที่สุดด้านศิลปการต่อสู้ จะใช้เวลาหลายปีเรียนรู้เทคนิค และการเคลื่อนไหว นับร้อยท่าจนชำนาญ แต่ในยกหนึ่งๆ แชมป์จะใช้เทคนิคสี่หรือห้าอย่างซ้ำแล้วซ้ำอีก เทคนิคเหล่านี้ เป็นเทคนิคที่เขาทำได้ดีเลิศ ไม่มีที่ติ ทั้งเขารู้ว่า เขาพึ่งเทคนิคเหล่านั้นได้
หยุดเปรียบเทียบตัวเองตอนสี่สิบห้ากับยี่สิบหรือสามสิบ อดีตเป็นมายา คุณต้องเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน และยอมรับว่า ตัวเองเป็นอะไรตอนนี้ สิ่งที่คุณขาด คือความยืดหยุ่น กับความปราดเปรียว ที่คุณต้องสร้างเสริมขึ้นมาด้วยความรู้ และการฝึกหัดอย่างคงเส้นคงวา

คำของปรมาจารย์รุ่นแรกสุดของเซ็น มีอยู่ 4 ประโยค


คำของปรมาจารย์รุ่นแรกสุดของเซ็น มีอยู่ 4 ประโยค

1. พ้นจากการบัญญัติ
2. เข้าถึงไม่ได้ด้วยการเรียนตามตำรา
3. ลัดตรงเข้าสู่ใจ
4. มองดู (รู้) พุทธะก็เกิดฮวงโป
ไม่มีอะไรจะต้องลุถึง เพียงแต่ลืมตาตื่นเท่านั้นสิ่งๆ นั้นก็จะปรากฏแก่เธอ
(การลืมตาตื่นเพื่อเห็นสิ่งที่เต็มบริบูรณ์อยู่แล้วตรงหน้านั้น ไม่ได้หมายถึงการเริ่มลอกกิเลสเป็นชั้นๆ จนลอกหมดแล้วจึงตื่น แต่จิตนั้นเอง คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ทันทีที่มีสติสัมปชัญญะ ไม่หลง ไม่เผลอ จิตปราศจากการครองคลุมของโมหะ เมื่อนั้นคือการตื่น หรือการรู้ ที่เราพูดถึงกันบ่อยๆ นั่นเอง
จิตที่ปราศจากโมหะ มีความรู้ตัว จะเห็นประจักษ์ธรรมต่อหน้าต่อตา เริ่มจากธรรมในฝ่ายที่เกิดดับ หรือสังขตธรรม จนปัญญาแก่รอบ สามารถปล่อยวางธรรมในฝ่ายที่เกิดดับได้ ก็จะเข้าไปรู้จักธรรมในฝ่ายที่ไม่เกิดไม่ดับ
ดังนั้น ทันทีที่รู้ ก็คือทันทีที่ตื่น พ้นจากภาวะหลับฝันทั้งที่ลืมตา และทันทีที่ตื่น จิตก็ถึงความเบิกบาน อันเป็นคุณสมบัติของจิตเอง ไม่ใช่รู้แล้วลอกกิเลสเป็นชั้นๆ ไปจนหมด จึงตื่น
จิตรู้ หรือจิตตื่น มีความเบิกบานในตัวเอง ปลอดภัยอยู่ท่ามกลางความแปรปรวนและไฟกิเลส เหมือนลิ้นงู ในปากงู เหมือนดอกบัว ที่ไม่เปื้อนด้วยโคลนตม)
คนพาล ย่อมหลีกเลี่ยงปรากฏการณ์ภายนอก แต่ไม่หลีกเลี่ยงความคิดปรุงแต่ง คนฉลาดย่อมหลีกเลี่ยงความคิดปรุงแต่ง แต่ไม่หลีกเลี่ยงปรากฏการณ์ภายนอก
ท่านฮวงโป เดินเข้าไปในหอพระ เห็นรินไซ (หลินจิ) กำลังนั่งสัปหงกอยู่ ท่านฮวงโปเลยเอาไม้เท้าไปกระทุ้งพื้น พอรินไซเห็นก็แกล้งทำเป็นหลับต่อ พระอีกองค์นึงนั่งอยู่ใกล้ๆแต่ไม่สัปหงกกลับโดนท่านฮวงโปดุเอาว่า เอาแต่นั่งฟุ้งซ่านอยู่ได้ แล้วฮวงโปก็หันไปชมรินไซที่กำลังสัปหงกอยู่ว่า ปฏิบัติดีรินไซ
เหมือนคนคิดว่าหัวของตัวเองหาย เมื่อเขาหยุดมองหาหัวของตัวเองอย่างเอาเป็นเอาตาย เขาพบว่าไม่มีสิ่งใดต้องค้นหา
ก็รินไซนี่แหละครับ ที่ไปหาฮวงโปแล้วโดนกระบองตี เรื่องนี้ที่ผมเคยถามหลวงอา เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจเลย ท่านว่าธรรมะไปถามคนอื่นได้ไง หาได้ที่ตัวเอง
ตอนหลังท่านฮวงโปก็มอบให้รินไซสืบทอดคำสอนต่อ ท่านฮวงโปให้คนใช้ไปเอาตราประทับที่ได้จากอาจารย์ไปจ้างมาให้รินไซ (ตราประทับที่แสดงว่าท่านผู้นั้นสมควรได้รับการสืบทอดคำสอนไปยังรุ่นต่อไป สืบทอดกันมาเป็นรุ่นๆ พอฮวงโปสั่งคนใช้ให้ไปเอามา ท่านรินไซก็บอกให้คนใช้เอาไฟมาเผาด้วยโพธิธรรม
อะไรเกิดขึ้นที่จิตก็ให้รู้ไป ไม่ต้องไปแบ่งแยกให้ค่าว่า อันนี้ถูก อันนี้ผิด ถ้าหลุดพ้นจากการให้ค่าพวกนี้ได้ ก็จะเข้าใจจิตได้ครับเค็งเซ็น
สิ่งที่ตาเธอเห็นอยู่นั่นแหละคือความจริง (ปรมัตถ์) ธรรมทั้งปวงก็คือปรมัตถ์ เธอจะต้องหาอะไรอีกเล่าจ้าวโจ
บางที ก็มีพระมาถามว่า 'ผมถึงจุดที่ไม่ยึดถืออะไรแล้ว ผมจะต้องทำอย่างไรครับ' ท่านก็ตอบว่า 'ก็ทิ้งมันไว้ตรงนั้นสิ'
มีพระมาถามว่า 'ถ้าบรรลุถึงนิพพานแล้ว จิตจะเป็นยังไงครับ' ท่านอาจารย์บอกว่า 'ทำให้ถึงตรงนั้นก่อน แล้วฉันจะตามไปบอก'
พระองคนึงถามอาจารย์จ้าวโจว่า 'ที่เมืองจีนใครเป็นอาจารย์องค์แรกครับ' ท่านจ้าวโจว่า 'ท่านโพธิธรรม' 'แล้วท่านอาจารย์เป็นอาจารย์อยู่ในลำดับที่เท่าไรครับ' 'ฉันอยู่นอกลำดับ' 'อยู่นอกลำดับแล้วตกลงอยู่ไหนครับ' 'อยู่ในหูเธอ'
เข้าใจว่า พระองค์นั้นโดนดุเรื่องถามอยู่นั่นแหละ ก็พูดให้ฟังอยู่นี่แล้วยังไปสงสัยอะไรมากมาย คืออาจารย์องค์นี้ท่านมักจะใช้คำพูดให้ศิษย์หลุดออกมาจากความสงสัย อ่านดูศิษย์ท่านแต่ละคนช่างซักช่างถามเสียเหลือเกินโจซู
มีพระรูปหนึ่งไปถามท่านโจชูว่า ตัวเองปฏิบัติแบบนี้แล้วถูกรึเปล่า ท่านโจชูบอกว่าเริ่มปฏิบัติได้ก็ดีแล้วนี่ (ท่านไม่ตอบว่าถูกหรือผิดเลย) คำสอนพระท่านส่วนใหญ่จะเน้นให้ลูกศิษย์ละวางการให้ค่าสิ่งต่างๆ ที่เป็นคู่ๆ ว่า นี่ดี นี่ไม่ดี นี่ก้าวหน้า นี่ถอยหลัง อะไรทำนองนี้

เซน



เซนคือวิธีแห่งการรู้แจ้งอันสมบูรณ์ ใครก็ตามที่ได้ปฏิบัติเซน ย่อมสามารถเข้าถึง การรู้อย่างฉับพลัน และใช้ชีวิตใหม่ในสถานะแห่งพุทธะ
เซนอยู่ในชีวิตประจำวันนั่นเอง เป็นชีวิตตามธรรมดาๆ แต่ก็ไม่ใช่ธรรมดาตามธรรมดาที่เราเข้าใจกันอยู่โดยปกติทั่วไป
ที่จริงเซนนั้นก็เหมือนกับการตื่นนอน ล้างหน้า แปรงฟัน กินอาหาร อาบน้ำ ล้างถ้วย ล้างชาม อันเป็นกิจวัตรสามัญประจำวันของคนเรา ดำเนินไปตามครรลองที่มันควรจะเป็นเท่านั้นเอง
วิธีการปลุกเร้ากายใจให้สดชื่นนั้น คือ ถึงเวลาหิวก็กินข้าว ถึงเวลาอ่อนเพลียก็นอน ซึ่งเป็นท่วงทำนองของธรรมชาติ ที่ตัวตนจะดำรงอยู่ ณ ที่นี้อย่างแท้จริงอยู่เสมอ
จงใช้ชีวิตอยู่กับเหตุ ทิ้งผลไว้ให้แก่กฎอันยิ่งใหญ่ของจักรวาล
จุดมุ่งหมายของเซน คือการทำให้เราตระหนักว่าไม่มีตัวตน
ใช้ชีวิตอยู่ในโลก แต่อย่าให้ฝุ่นของโลกเกาะติดได้ เหมือนดอกบัวเกิดในโคลนตม แต่ไม่ติดโคลนตมฉันนั้น
ชีวิตนี้แสนสั้น เราย่อมไม่อาจที่จะใช้ชีวิตที่มีเวลาอยู่นี้ ไปในการขบคิดใคร่ครวญเรื่องทางอภิปรัชญา อย่างไม่มีวันสิ้นสุด เพราะอภิปรัชญาไม่อาจนำไปสู่สัจจะอันยิ่งใหญ่ได้เลย
ชีวิตของเราจะสูญเปล่าไป หากเราหลีกหนีการใช้ชีวิตตามความจริง เมื่อไปอยู่ในโลกแห่งความคิดอันล้ำลึกแล้ว เราก็จะเป็นเพียงวิญญาณพเนจร หากยังวุ่นวายอยู่ด้วยความคิดว่ามีหรือไม่มี ชีวิตก็จะสูญเปล่าไปเสีย
ให้ดูทุกข์ และความไม่มีทุกข์ ที่มีอยู่ในใจ จึงจะเข้าถึงธรรมที่ปราศจากทุกข์ได้
ปาฏิหาริย์ที่แท้ อยู่ในชีวิตประจำวันธรรมดาๆ นี่เอง ให้กิจวัตรประจำวันดำเนินไปตามครรลองของมันอย่างเป็นธรรมชาติ ชีวิตคุณมีอยู่เพียงขณะเดียว อดีตก็ละไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด คนเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ ก็แต่ในขณะปัจจุบันเท่านั้น
เดี๋ยวนี้ คือสิ่งที่เรา เป็น มันไม่สามารถจะเป็น เป้าหมาย หรือ ภาวะ ที่เราจะต้อง มุ่ง ไปให้ถึง เดี๋ยวนี้ คือการกระทำ หรือ ความเคลื่อนไหว ซึ่งปรากฏอยู่ในขณะนี้ ก่อนที่ ความคิด จะปิดบังมันไว้เสีย
ถ้าเราพบความผิดในบุคคลอื่น เราเองก็ตกอยู่ในความผิดนั้นด้วยเหมือนกัน เมื่อผู้อื่นทำผิด เราไม่จำเป็นต้องเอาใจใส่ เพราะมันจะเกิดความผิดขึ้นแก่เราเอง ในการที่จะไปรื้อหาความผิด
ทุกๆ ครั้งที่มีการเตือนตนเองให้ถ่อมตน อัตตาของตนก็จะขยายทั้งแง่ขอบเขตและกำลัง ความถ่อมตนที่แท้จะเกิดขึ้นเมื่อเราไม่ได้นึกถึงความถ่อมตน วิปัสสนานั้นไม่ใช่การให้ความสำคัญแก่ตนเอง หรือการปฏิเสธละทิ้งตนเอง
มันจะมีประโยชน์อะไร ที่จะมานั่งอภิปรายกันว่า ต้นหญ้าและต้นไม้ตรัสรู้ได้อย่างไร ปัญหามันอยู่ที่ว่า ตัวท่านเองนั่นแหละ จะสามารถบรรลุถึงการตรัสรู้ได้อย่างไร
ยึดมั่นคราใดเป็นทุกข์ครานั้น การปฏิบัติทุกอย่างต้องมาลงที่ความไม่ยึดมั่นถือมั่น สิ่งใดหรือเรื่องใดที่ปฏิบัติแล้ว ยิ่งทำให้เกิดยึดมั่นถือมั่นมากยิ่งขึ้น ถือว่าผิดแล้ว
การตรัสรู้ธรรมหรือไม่ หาได้อยู่ที่การปฏิบัติเข้มงวด หรือเคร่งครัดเป็นเวลานานไม่ แต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ต่างหาก
ระหว่าง รู้ กับ ทำ นั้นช่างห่างไกลกันเสียเหลือเกิน